ลักษณะทางพันธุกรรม
คนเราแต่ละคนจะมีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่ของตนเอง
โดยมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับพ่อและมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับแม่
ซึ่งลักษณะเหล่านี้จะถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูก
พ่อ
เป็นลูกของปู่กับย่าพ่อจึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากปู่และลักษณะบางอย่างมาจากย่า
แม่
เป็นลูกของตากับยายแม่จึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากตา
และลักษณะบางอย่างมาจากยาย
ตัวเรา
เป็นลูกของพ่อกับแม่ตัวเราจึงได้รับการถ่ายทอดลักษณะบางอย่างจากพ่อ
และลักษณะบางอย่างมาจากแม่
สิ่งมีชีวิตต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์จะมีการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ
จากพ่อแม่ไปสู่ลูกเช่นเดียวกับคนเรา เช่น แม่ไก่จะออกลูกออกมาเป็นลูกไก่
(ลูกเจี๊ยบ) ซึ่งมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกับตัวพ่อไก่แม่ไก่
เมล็ดข้าวโพดที่ถูกนำมาปลูกจะเติบโตเป็นต้นข้าวโพดเหมือนกับต้นพ่อแม่
ลักษณะบางอย่างของลูกที่แตกต่างไปจากพ่อหรือแม่นั้น อาจเป็นลักษณะที่ได้รับการถ่ายทอดจากปู่ ย่า ตา
หรือยายก็ได้
แต่ถ้าลักษณะที่ปรากฏออกมานั้นไม่เหมือนลักษณะของใครในครอบครัวเลย
แสดงว่าลักษณะบางอย่างที่ปรากฏออกมาเป็นลักษณะที่แปรผัน ซึ่งสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไปได้
สิ่งมีชีวิตต่างๆ
สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปสู่ลูกหลาน ได้โดยหน่ายพันธุกรรมนี้จะอยู่ใน ยีน
(gene) ที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์
นักวิทยาศาสตร์ผู้ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมนี้คือ
เกรเกอร์
เมนเดล (Gregor Mendel)
ซึ่งเป็นนักบวชชาวออสเตรียได้ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากการทดลอง
ปลูกต้นถั่วลันเตา
และสรุปเป็นกฎของเมนเดลไว้ ดังนี้
1.
ลักษณะต่าง ๆ
ของสิ่งมีชีวิตจะถูกควบคุมโดยยืนที่อยู่ในเซลล์สืบพันธุ์และถ่ายทอดไปยังลูกหลานทาง
เซลล์สืบพันธุ์
2.
การถ่ายทอดลักษณะแต่ละลักษณะเป็นอิสระต่อกัน
3.
ลักษณะที่ปรากฏออกมาบ่อยครั้ง เรียกว่า ลักษณะเด่น ลักษณะที่ปรากฏออกมาน้อยครั้ง
เรียกว่า
ลักษณะด้อย
4.
สัดส่วนของลักษณะเด่นต่อลักษณะด้อย จะมี 3 : 1 เสมอ
ลักษณะทางพันธุกรรม
(genetic character) เป็นลักษณะของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด
เช่น ลักษณะจมูกโด่ง จมูกแบน ผมหยิก
ผมตรง ผิวดำ ผิวขาว ตาชั้นเดียว
ตาสองชั้นลักษณะดังกล่าวมักมีลักษณะเหมือนกับพ่อแม่หรือญาติ
ลักษณะเหล่านี้จึงสามารถถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ เรียกว่า ลักษณะทางพันธุกรรม
สำหรับการศึกษากลไกการควบคุมลักษณะกรรมวิธีในการส่งข้ามลักษณะจากชั่วหนึ่ง
ไปยังอีกชั่วหนึ่ง คือ
พันธุกรรมของลักษณะ (heredity)
ที่มา : https://kruwatsana.wordpress.com
/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น