ลักษณะทางพันธุกรรม หมายถึง
ลักษณะองค์ประกอบของยีน (gene)
ของสิ่งมีชีวิตที่มีการแสดงออกเป็นลักษณะปรากฏที่แตกต่างกัน
และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นอื่นๆต่อไปได้ โดยการถ่ายทอดยีน
ในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจะมีหน่วยควบคุมลักษณะ (genetic unit) ควบคุมสิ่งมีชีวิตให้มีรูปร่าง
และลักษณะเป็นไปตามเผ่าพันธุ์ของพ่อแม่ เรียกว่า ยีน (gene) ดังนั้นยีนจึงทาหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดลักษณะต่างๆจากบรรพบุรุษไปสู่รุ่นหลาน
ลักษณะต่างๆที่ถ่ายทอดไปนั้นพบว่าบางลักษณะไม่ปรากฏในรุ่นลูก
แต่อาจจะปรากฏในรุ่นหลานหรือเหลนก็ได้ จึงมีผลทาให้เกิดความแตกต่างกันของลักษณะทางพันธุกรรมจนมีผลทาให้สิ่งมีชีวิตเกิดความหลากหลาย
แต่การสะสมลักษณะทางพันธุกรรมจานวนมากทาให้เกิดสปีชีส์ต่างๆและสามารถดารงเผ่าพันธุ์ไว้ได้จนถึงปัจจุบัน
ในระหว่างการสะสมพันธุกรรมที่ต้องใช้เวลานานนับปี
ทาให้ลักษณะทางพันธุกรรมที่สะสมเกิดการแปรผันทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในสปีชีส์เดียวกัน
ย่อมมีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกันมากกว่าสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีความแตกต่างกันน้อยกว่าสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
ความแตกต่างอันเนื่องจากมีลักษณะพันธุกรรมแตกต่างกัน เรียกว่า
การแปรผันทางพันธุกรรม (genetic
variation)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้โดยปัจจัย
2 ประการ คือ
1. พันธุกรรม
2. สิ่งแวดล้อม
การแปรผันลักษณะทางพันธุกรรมสามารถจำแนกได้
2 ประเภท
1. การแปรผันลักษณะทางพันธุกรรมที่ต่อเนื่อง
เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน
มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ความแตกต่างของลักษณะจะปรากฏเป็นลำดับต่อเนื่องกัน
ทำให้ยากต่อการจัดหมวดหมู่และอัตราส่วนจะแยกอย่างเด็ดขาดได้ยาก มักถูกควบคุมโดยยีนหลายคู่
>แปรผันได้ง่ายเมื่อได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
สามารถวัดขนาดและปริมาณได้ตัวอย่าง เช่น ในคน – สีผิวปกติ /
ความสูง / น้ำหนัก / โครงร่าง / ระดับสติปัญญา ฯลฯ ในสัตว์และพืช – ขนาดของร่างกาย
/ ผลผลิต / ปริมาณการให้เนื้อ นม และไข่ ฯลฯ
เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างเด่นชัด
เช่น ความสูง น้าหนัก โครงร่าง สีผิว
ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน เช่น ความสูง
ถ้าได้รับสารอาหารถูกต้องตามหลักโภชนาการและมีการออกกาลังกายก็จะทาให้มีร่างกายสูงได้
2. การแปรผันทางพันธุกรรมแบบไม่ต่อเนื่อง
เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนและจำแนกชนิดของลักษณะที่ปรากฎให้เป็นหมู่ได้ง่าย
ถูกควบคุมด้วยยีนน้อยคู่ไม่แปรผันโดยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมเป็นลักษณะทางคุณภาพ
ตัวอย่าง เช่น ความสามารถในการห่อลิ้น /
การถนัดมือซ้าย มือขวา / จำนวนชั้นของหนังตา / การมีลักยิ้ม / ลักษณะผิวปกติ – ผิวเผือก
/ พันธุกรรมของหมู่เลือด / การมีติ่งหู –
ไม่มีติ่งหู ฯลฯ
เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเกิดจากอิทธิพลของกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว
เช่น มีลักยิ้ม - ไม่มีลักยิ้ม ขวัญเวียนขวา - ขวัญเวียนซ้าย ห่อลิ้นได้ -
ห่อลิ้นไม่ได้ มีติ่งหู - ไม่มีติ่งหู กระดูกโคนนิ้วหัวแม่มือกระดกไปมาได้ – กระดกไปมาไม่ได้
ที่มา : https://sites.google.com/site/marisa44638/wiwathnakar/kar-paerphan-thang-phanthukrrm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น